MPE THAMMASAT UNIVERSITY-PATTAYA CENTER
สมาชิกล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบก่อนนะคะ

Join the forum, it's quick and easy

MPE THAMMASAT UNIVERSITY-PATTAYA CENTER
สมาชิกล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบก่อนนะคะ
MPE THAMMASAT UNIVERSITY-PATTAYA CENTER
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
MPE THAMMASAT UNIVERSITY-PATTAYA CENTER

สำนักไหนหมายชูประเทศชาติ สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง

Sawasdee & Welcome Everyone to MPE Website ka.
ค้นหา
 
 

Display results as :
 


Rechercher Advanced Search

October 2024
MonTueWedThuFriSatSun
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031   

Calendar Calendar

เข้าสู่ระบบ(Log in)

ลืม(forget) password




You are not connected. Please login or register

Propagandaในโลกการเมือง อ.ไชยยันต์

2 posters

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

attakorn

attakorn
รมช.
รมช.


ทำไมประชาชนจึงยังคงสนับสนุนผู้นำทางการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชัน? โดย ไชยันต์ ไชยพร

กรุงเทพธุรกิจออนไลน 19 กุมภาพันธ์ 2553




ในบทความเรื่อง "Why Do Corrupt Governments Maintain Public Support ?" ของสองนักรัฐศาสตร์อเมริกัน (Luigi Manzetti และ Carlole J. Wilson) ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Comparative Political Studies, ปีที่ 40 ฉบับที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 พยายามที่จะศึกษาหาคำตอบต่อข้อสงสัยที่ว่า "ทำไมประชาชนจึงยังคงสนับสนุนรัฐบาลที่ทุจริตคอร์รัปชัน?"

บทความนี้ชี้ว่า ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 ทั่วโลกตื่นตัวต่อผลเสียร้ายแรงที่เกิดจากการคอร์รัปชันของนักการเมืองที่กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นทางการเมืองของประชาชน บางประเทศ อาทิเช่น บราซิล เปรู และเอกวาดอร์ ประชาชนไม่พอใจอย่างแรงต่อการทุจริตคอร์รัปชันของผู้นำจนถึงขั้นถอดถอนออกจากตำแหน่ง (impeachment) หรือในกรณีอิตาลี เยอรมนี และญี่ปุ่น ที่นายกรัฐมนตรีถูกกดดันจนต้องลาออก รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทำนองเดียวกันในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ตาม แม้สื่อมวลชนจะประโคมให้เห็นว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวถือเป็นหมุดหมายของการต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชัน แต่กระนั้น ข้อเท็จจริงอันหนึ่งที่ยังไม่ได้สนใจวิเคราะห์จริงจัง ก็คือ นักการเมืองที่ทุจริตหรือชื่อเสียงเสื่อมเสียเหล่านั้นจำนวนไม่น้อยได้รับชัยชนะมีคะแนนเสียงท่วมท้นในการเลือกตั้ง ได้กลับเข้าไปมีอำนาจทางการเมืองอีก! หนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นชัดเจน คือ กรณีนายซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนี ของอิตาลี แม้ว่าเขาจะถูกศาลไต่สวนในข้อกล่าวหาเกี่ยวกับอาชญากรรมร้ายแรงมากมาย แต่เขาก็ยังได้รับเลือกกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2537 และอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2543 ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ทำให้นักวิชาการทั้งสองต้องการหาคำตอบว่า ทำไมประชาชนยังจะเลือกนักการเมืองทุจริตฉ้อฉลเหล่านี้อีก

Manzetti และ Wilson ได้เก็บตัวอย่างและศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบปรากฏการณ์ทางการเมืองดังกล่าวนี้จาก 14 ประเทศ และได้ข้อสรุปว่า หลักฐานทางสถิติสอดคล้องกับสมมติฐานการศึกษาที่พวกเขาได้ตั้งไว้ นั่นคือ "ประชาชนในประเทศที่สถาบันการเมืองและระบบราชการอ่อนแอไร้ประสิทธิภาพ แต่มีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ (patron-clients relationships) ที่เข้มแข็ง มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนผู้นำที่ฉ้อฉล ที่ประชาชนคาดหวังว่าจะได้รับประโยชน์ที่จับต้องได้จากผู้นำแบบนี้"

ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นอีกด้วยว่า ตราบเท่าที่บรรดาผู้นำทางการเมืองที่ทุจริตฉ้อฉลเหล่านี้ ยังสามารถสนองตอบความพอใจให้แก่บรรดาเครือข่ายในระบบอุปถัมภ์ของพวกเขาได้ โดยการยักย้ายถ่ายเททรัพยากรของรัฐ พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะยังคงไว้ซึ่งการสนับสนุนทางการเมืองจากประชาชน ซึ่งนักวิชาการทั้งสองเห็นว่า ในประเทศที่มีเงื่อนไขที่หล่อเลี้ยงปรากฏการณ์ทางการเมืองในลักษณะนี้ให้เจริญเติบโตอยู่ ลำพังเพียงการปฏิรูประบบการบริหารงานภาครัฐ ไม่สามารถแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของผู้นำทางการเมืองประเภทนี้ได้

ผลการศึกษาเปรียบเทียบ 14 ประเทศของนักวิชาการทั้งสองนี้ ช่วยเป็นกระจกเงาให้เราเข้าใจวิกฤติการเมืองในบ้านเราว่า ปรากฏการณ์ พ.ต.ท. ทักษิณและพรรคการเมืองนอมินีของเขาไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด ผู้นำอย่างทักษิณก็ไม่ได้พิเศษอะไร เพราะที่อื่นๆ ก็เป็นกันและมีปัญหาเหมือนกันกับบ้านเรา เพราะเมื่อมองย้อนดูบ้านเรา จะพบว่าประชาชนส่วนใหญ่เฉยชาหรือยอมรับการคอร์รัปชันและปล่อยให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตปกติ ดังที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้เคยเขียนถึงประเด็นดังกล่าวนี้ไว้อย่างน้อยสองครั้ง ในปี พ.ศ. 2538 และปี พ.ศ. 2545 ก่อนเกิดวิกฤติการเมืองไทย พ.ศ. 2549 ท่านกล่าวว่า "เมื่อมีการเลือกตั้งภายใต้ รสช. นั้น ชาวบ้านใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่บอกว่า ไม่เลือก ส.ส. ของเขาแล้ว เพราะ ส.ส. คนนั้นถูก รสช. ยึดทรัพย์ไปหลายร้อยล้าน ชาวบ้านไม่ได้รังเกียจที่มี ส.ส. เป็นคนโกง แต่ชาวบ้านบอกว่า ถ้าโกงได้มากอย่างนี้ ก็ควรซื้อเสียงเขาในราคาแพงกว่านี้ ‘ถึงจะเป็นธรรม’" และ "เคยถามชาวบ้านเมื่อตอนที่นักการเมืองของพวกเขาถูกตรวจพบว่า ร่ำรวยผิดปกติว่า เขาคิดอย่างไร ชาวบ้านตอบว่ารู้สึกไม่พอใจ แต่ไม่ใช่เพราะโกง เขารู้มานานแล้วว่าโกง แต่ไม่พอใจที่โกงได้มากขนาดนี้ น่าจะแบ่งให้ชาวบ้านในการแจกจ่ายสวัสดิการเพื่อซื้อเสียงมากกว่านี้ นั่นคือ ยอมรับการคอร์รัปชันเต็มประตู จะติดขัดก็อยู่ตรงที่การเวียนแจกจ่าย" และด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ "นักการเมืองโกงๆ จำนวนไม่น้อยในเมืองไทย จะได้รับการเลือกตั้งกลับมาใหม่ชนิดแน่นอน ก็เพราะเขาจัดการด้านการเวียนแจกจ่ายให้เป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่ได้"

สิ่งที่อาจารย์นิธิกล่าวไปในย่อหน้าข้างต้นนี้ มีความสำคัญและน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะข้อความดังกล่าวนี้ ท่านเขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2545 ก่อนที่สังคมไทยจะเข้าสู่วิกฤติการเมืองครั้งสำคัญที่ปะทุขึ้นในปี พ.ศ. 2549 ที่มีการชุมนุมใหญ่ต่อต้านขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในข้อหาการซื้อขายหุ้นโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ซึ่งต่อมาเราจะพบว่า เหตุผลที่ประชาชนฝ่ายที่สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณใช้ในการปกป้องนักการเมืองรวมถึงการยอมรับ และการสนับสนุนนักการเมืองโกงของพวกเขา ก็คือ "ใครมาเป็นรัฐบาล มันก็โกงเหมือนกันหมด แต่กินแล้วแบ่งเราบ้าง ทำให้เราอยู่ดีกินดีบ้าง นี่ยอมรับได้"

สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะเสริมโดยอาศัยความคิดของอาจารย์นิธิ ก็คือ ที่ผ่านมา การทุจริตโกงกินเพื่อรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของนักการเมืองยังอยู่ในวงที่แคบกว่า และก็มักจะเป็นการตอบแทนนายทุน เมื่อการเมืองเข้าสู่ยุครัฐบาลพรรคไทยรักไทย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สามารถก้าวข้ามข้อจำกัด ในเรื่องการ ไม่สามารถสร้างกระบวนการเวียนแจกจ่ายในพื้นที่ซึ่งใหญ่ขึ้นนี้ให้เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปได้ การตอบแทนประโยชน์ได้ขยายตัวสู่ประชาชนในวงกว้างผ่านนโยบายประชานิยมต่างๆ จากการยักย้ายถ่ายเททรัพยากรของรัฐ อาทิเช่น นโยบาย "ปลดหนี้ กองทุนหมู่บ้าน สามสิบบาทรักษาทุกโรค ฯลฯ" จึงทำให้ฐานพลังทางการเมืองที่สนับสนุนปกป้อง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เคลื่อนตัวลงมาครอบคลุมถึงประชาชนในระดับ "รากหญ้า" ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ อีกทั้งการเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อที่สามารถส่อนัยของการเลือกตั้งฝ่ายบริหาร ทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างๆ ที่ทำให้ภาพของผู้นำทางการเมืองโดดเด่นชัดเจนกว่าระบบการเลือกตั้งที่ผ่านมา รวมทั้งภาวะผู้นำทางการเมืองของ พ.ต.ท. ทักษิณเองด้วยที่ส่งผลให้เกิด นายกรัฐมนตรีที่คนไทยชื่นชอบ โดยผ่านการเลือกตั้งและการบริหารราชการในระบอบประชาธิปไตยได้

ปรากฏการณ์ พ.ต.ท. ทักษิณจะเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดเกินความคาดหมาย เพราะถ้าหากใช้ตรรกะเหตุผลในคำอธิบายข้างต้นของอาจารย์นิธิ ก็จะช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์ "ทักษิณนิยม" ได้ นั่นคือ หากผู้นำทางการเมืองคนใด สามารถสร้างกระบวนการเวียนแจกจ่ายในพื้นที่ซึ่งใหญ่ขึ้นนี้ให้เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปได้ และหากพื้นที่ดังกล่าวขยายตัวมากพอ ก็จะทำให้ผู้นำทางการเมืองคนนั้นเป็น นายกรัฐมนตรีที่คนไทยชื่นชอบได้

และด้วยเหตุนี้ ปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยที่ประชาชนส่วนใหญ่ ยังให้การสนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณอยู่ขณะนี้ ก็ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สนับสนุนงานวิจัยของ Manzetti และ Wilson ถือเป็นประเทศที่สิบห้าได้โดยไม่ต้องเสียเวลามาเก็บข้อมูลที่เมืองไทย

Mmy Aor

Mmy Aor
Moderators
Moderators

ขอบคุณพี่อรรถสำหรับบทความดีๆ ที่หามาให้อ่านกันค่ะ

เป็นงานวิจัยที่สะท้อนภาพและอธิบายถึงวิถีการเมืองไทยได้ดีมากเลยค่ะ การเวียนแจกจ่ายที่ทั่วถึงและเป็นที่น่าพอใจของฐานเสียงย่อมทำให้นักการเมืองคนนั้นๆ ได้กลับขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองได้อีก ถึงแม้ว่าจะถูกลงโทษทางกฎหมายไปแล้วก็ตาม ประชาชนก็ยังคงสนับสนุนให้กลับมาได้อีก นี่ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีเลยทีเดียว

แต่กรณีคุณทักษิณ คิดดูสิจะเนียนแค่ไหน ที่เวียนแจกจ่ายผ่านนโยบายประชานิยม สู่คนรากหญ้าที่ผ่านมาไม่เคยได้จับต้องนโยบายอะไรจากรัฐบาลมาก่อน ไม่น่าแปลกใจเลยที่นโยบายต่างๆ ที่ส่งไปสู่รากหญ้าจะทำให้คุณทักษิณเป็นที่นิยมชมชื่นได้ขนาดนี้

แบบนี้อย่างที่อาจารย์บอก มันเป็นปรากฏการณ์ทีน่ากลัวมาก ที่ทุกคนต่างยอมรับในการคอรัปชั่น และเห็นว่ามันเป็นเรื่องปกติ ขอแค่ได้ส่วนแบ่งบ้าง อย่าเก็บไว้กินคนเดียว ฉันก็จะสนับสนุนเธอ

แล้วถ้าเป็นแบบนี้ นักการเมืองหรือรัฐบาลที่ขึ้นมาปกครอง ก็จะต้องดำเนินนโยบายโกงกินและแจกจ่ายอย่างนี้ไปเรื่อยๆ แล้วพวกพวกเราที่อยู่ภายใต้ปกครองทั้งที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ทั้งที่ได้ส่วนแบ่ง ไม่ได้ส่วนแบ่ง ก็ยังคงต้องก้มหน้า Welcome ปรากฏการณ์นี้ต่อไปใช่ไหม

http://mmyviva.multiply.com

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ