MPE THAMMASAT UNIVERSITY-PATTAYA CENTER
สมาชิกล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบก่อนนะคะ

Join the forum, it's quick and easy

MPE THAMMASAT UNIVERSITY-PATTAYA CENTER
สมาชิกล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบก่อนนะคะ
MPE THAMMASAT UNIVERSITY-PATTAYA CENTER
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
MPE THAMMASAT UNIVERSITY-PATTAYA CENTER

สำนักไหนหมายชูประเทศชาติ สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง

Sawasdee & Welcome Everyone to MPE Website ka.
ค้นหา
 
 

Display results as :
 


Rechercher Advanced Search

October 2024
MonTueWedThuFriSatSun
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031   

Calendar Calendar

เข้าสู่ระบบ(Log in)

ลืม(forget) password




You are not connected. Please login or register

สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม 1 สาระสำคัญของรธน.ไทยเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

attakorn

attakorn
รมช.
รมช.

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญไทยเกี่ยวกับสิทธิ
เสรีภาพ และหน้าที่ของบุคคล

12.1 สิทธิ เสรีภาพ

สิทธิ
เป็นเสมือนทั้งเกราะในการคุ้มกันประชาชนให้พ้นจากภัยคุกคามของกำลังอิทธิพลและอำนาจที่ไม่ยุติธรรม และเป็นเสมือนกุญแจให้ประชาชนสามารถใช้ไขไปสู่ประโยชน์ด้านต่างๆ ได้ โดยในที่นี้จะเน้นเฉพาะสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติรับรองไว้ ซึ่งมีขอบเขตครอบคลุมถึงผลประโยชน์จากโอกาสและทางเลือกอันพึงมี พึงกระทำ และพึงได้ โดยที่สิ่งนั้นไม่ถูกโต้แย้งและขัดขวางโดยกฎหมาย องค์กรรัฐเจ้าหน้าที่รัฐ และคนอื่น ทั้งนี้โดยที่ประชาชนมีอิสระตามเสรีภาพในการใช้สิทธินั้นได้ตามเจตจำนงอิสระของตนเองหรือตามความสามารถในการตกลงใจของตนเองได้ด้วย ไม่อยู่ภายใต้การบังคับกะเกณฑ์โดยอิทธิพลอย่างอื่น
ทั้งนี้สามารถจำแนกสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชน ออกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้ คือ
สาระสำคัญของสิทธิ
1) สิทธิ เสรีภาพในความเป็นมนุษย์
2) สิทธิ เสรีภาพในความเป็นพลเมือง
3) สิทธิในความเสมอภาค

พันธะของรัฐที่มีต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และ
1) พันธะในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งอำนาจ
2) พันธะในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากอำนาจ
3) พันธะในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งอิทธิพลเหนืออำนาจ

การใช้ประโยชน์จากสิทธิเสรีภาพของประชาชนสาระสำคัญของสิทธิ ได้แก่
1) การขอป้องกันสิทธิของประชาชน
2) การขอรับความคุ้มครองสิทธิของประชาชน
3) การขอรับการเยียวยาสิทธิของประชาชน


1) สิทธิ เสรีภาพในความเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิ เสรีภาพ เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ความคิด จิตใจ และความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งถือเป็นสิทธิจะอยู่ จะเป็น หรือเป็นสิทธิที่ติดมากับตัวของประชาชนทั้งหลาย ตั้งแต่เกิดมาเป็นคน
โดยที่รัฐไม่อาจปฏิเสธความเป็นคน และศักดิ์ศรีความเป็นคนของประชาชนด้วยการกระทำที่เป็นการล่วงล้ำเกิน คุกคาม หรือละเมิดได้ เช่น การไม่ถูกลงโทษด้วยวิธีโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม การมีเสรีภาพในเคหสถานส่วนตัว เสรีภาพการเดินทาง การนับถือศาสนา การสื่อสาร คมนาคม การแสดงความคิดเห็น การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และการเลือกถิ่นที่อยู่ เป็นต้น (ตามมาตรา 4 มาตรา 26 และมาตรา 28) ที่กล่าวว่าเป็นสิทธิที่จะอยู่ จะเป็น หรือ เป็นสิทธิที่ติดมากับตัวประชาชน ก็เพราะเป็นสิทธิที่เป็นส่วนควบติดอยู่กับความเป็นคนตามธรรมชาติ โดยที่ทุกคนมีอยู่เหมือนกัน รัฐไม่อาจเข้าไปแทรกแซงให้เกิดความแตกต่าง หรือ สูญสิ้นสิทธิอันเป็นเสมือนองค์ประกอบของชีวิต จิตใจ และร่างกายนั้นได้ ดังนั้น สิทธิ เสรีภาพในความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิทธิของคนที่ห้ามไม่ให้รัฐกระทำซึ่งอาจเรียกสิทธิแบบนี้ได้ว่าเป็นสิทธิที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐ

2) สิทธิ เสรีภาพในความเป็นพลเมือง เป็นสิทธิ เสรีภาพเกี่ยวกับการที่สามารถเรียกร้องความต้องการขั้นพื้นฐานจากรัฐในฐานะที่เป็นราษฎรของรัฐได้ ซึ่งรัฐมีหน้าที่ให้การสนองตอบในรูปของบริการสาธารณะ ถือเป็นสิทธิที่จะเรียกขอได้ จะรับเอาได้ หรือเป็นสิทธิที่ตามมากับตัวโดยที่งอกขึ้นมาจากความเป็นพลเมืองหรือเป็นราษฎรของรัฐ โดยที่รัฐไม่อาจจะปฎิเสธความรับผิดชอบหรือความช่วยเหลือด้วยการเพิกเฉยไม่กระทำการตอบสนองตามความเรียกร้องต้องการของประชาชนซึ่งรัฐมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองได้ เช่น
- สิทธิในการรับการศึกษา (ตามมาตรา 43)
- สิทธิของผู้บริโภค
- เสรีภาพในการชุมนุม
- เสรีภาพในการรวมตัวเป็นหมู่คณะ
- สิทธิการรับข้อมูลข่าวสารจากรัฐ
- เสรีภาพการจัดตั้งพรรคการเมือง
- สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
- สิทธิการฟ้องหน่วยราชการ
- สิทธิมีส่วนร่วมกับรัฐ
- สิทธิคัดค้านการเลือกตั้ง
- สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและข้อบัญญัติท้องถิ่น
- สิทธิการเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
ทั้งนี้ ในการใช้สิทธิเสนอกฎหมายนั้นมีขอบเขตจำกัดเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพตามหมวด 3 และเกี่ยวกับนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามหมวด 5 เท่านั้น เป็นต้น
ที่กล่าวว่าเป็นสิทธิที่จะเรียกขอได้ หรือจะรับเอาได้ หรือเป็นสิทธิที่ตามมากับตัวโดยที่งอกขึ้นมาจากความเป็นพลเมืองของรัฐ เพราะเป็นสิทธิที่ขึ้นอยู่กับความเป็นพลเมืองของรัฐ โดยที่การได้รับความยุติธรรมจากการใช้สิทธิสำคัญกว่าการได้รับประโยชน์จากสิทธิที่เท่ากัน เช่น พลเมืองที่เด็กได้รับสิทธิการศึกษาภาคบังคับฟรี แต่พลเมืองที่เป็นผู้ใหญ่ได้รับสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง และสมัครรับเลือกตั้ง ขณะที่พลเมืองที่ด้อยโอกาสจะได้รับสิทธิการสงเคราะห์จากรัฐ ทั้งที่คนปกติทั่วไปไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว
ดังนั้นสิทธิเสรีภาพในความเป็นพลเมืองจึงเป็นสิทธิของพลเมืองที่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องได้รับประโยชน์เท่ากัน แต่หากเป็นสิทธิอะไรของใครก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องรับผิดชอบในการสนองตอบต่อการใช้สิทธินั้น กล่าวคือ พลเมืองที่เป็นเด็กย่อมสามารถเรียกร้องการศึกษาฟรีในภาคบังคับจากรัฐได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ก็ย่อมสามารถเรียกร้องการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ ดังนั้นสิทธิเสรีภาพของพลเมืองจึงเป็นสิทธิที่สงวนไว้ให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดหาให้ประชาชน หรือบังคับให้รัฐจะต้องกระทำซึ่งอาจเรียกสิทธิแบบนี้ได้ว่าเป็นสิทธิที่เป็นปฏิฐานกับรัฐ

3) สิทธิในความเสมอภาค เป็นสิทธิ เสรีภาพเกี่ยวกับการได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันจากรัฐ หรือการไม่เลือกปฏิบัติ เว้นแต่การเลือกปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือให้ผู้เสียเปรียบ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับสิทธิโอกาสเท่าเทียมกับคนอื่นได้ ซึ่งถือเป็นสิทธิที่จะมีจะเหมือนหรือเป็นสิทธิ เสรีภาพที่ดำรงอยู่นอกตัวของประชาชน (มาตรา 30) โดยที่รัฐไม่อาจปฏิเสธความเป็นกลาง หรือความเป็นธรรมด้วยการละเลยเพิกเฉยไม่ยื่นมือเข้าไปช่วย หรือ หยิบยื่นโอกาสอันพึงมีพึงได้ให้กับประชาชนได้รับอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยที่ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะความแตกต่างตามธรรมชาติ และเพราะการกระทำหรือละเว้นการกระทำของรัฐที่ไม่เท่าเทียมกัน เช่น
-การเสมอกันในกฎหมาย
- การไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน
- การได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ
- การได้รับความคุ้มครองโดยรัฐ และ
- สิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ เป็นต้น
ที่กล่าวว่าเป็นสิทธิที่จะมีจะเหมือนหรือเป็นสิทธิ เสรีภาพที่ดำรงอยู่นอกตัวของประชาชน ก็เพราะเป็นสิทธิที่ช่วยชดเชย ความแตกต่างตามธรรมชาติของคนให้ได้รับโอกาสและศักยภาพใหม่เพิ่มขึ้น โดยที่รัฐเป็นฝ่ายช่วยเสริมสร้างหรือเกื้อหนุนให้มีความเสมอเหมือนกัน โดยที่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องได้รับประโยชน์ที่เท่ากันจากการได้รับสิทธินั้น เช่น คนทั่วไปย่อมได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายเท่าเทียมกันในการขอแจ้งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพื่อประกอบธุรกิจ แต่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จหรือร่ำรวยได้เท่าเทียมกันจากการประกอบธุรกิจนั้น
ดังนั้นสิทธิในความเสมอภาคจึงเป็นสิทธิที่รัฐให้หลักประกันในการได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน แต่รัฐไม่ต้องผูกพันว่าทุกคนจะต้องเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการใช้สิทธินั้นให้ได้เท่ากันเสมอไป
ดังนั้นสิทธิในความเสมอภาคจึงเป็นสิทธิที่กำหนดให้รัฐดำรงฐานะของความเป็นคนกลางในการถือดุลย์ระหว่างความแตกต่างกันตามธรรมชาติของคนกับความเท่าเทียมกันตามกฎหมายและการปฏิบัติของรัฐเพื่ออุดช่องว่างไม่ให้ความแตกต่างนั้นเป็นเหตุให้เกิดเงื่อนไขของความไม่ยุติธรรมขึ้นในสังคม แต่ประโยชน์จากความยุติธรรมนั้นเป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องสร้างต่อขึ้นมาให้ตัวเองในภายหลังหรือไปหาเอาได้ข้างหน้า เมื่อรัฐได้ช่วยสร้างหลักประกันความยุติธรรมให้แล้ว ซึ่งอาจเรียกสิทธิแบบนี้ได้ว่าเป็นสิทธิที่เป็นพันธะของรัฐ

12.1.1 พันธะของรัฐที่มีต่อสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ได้แก่

1) พันธะในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งอำนาจ
เป็นการรับรองสิทธิ เสรีภาพในความเสมออำนาจของประชาชน ที่มุ่งผลต่อเป้าหมายอำนาจทางการเมืองการปกครองโดยตรง เช่น การจัดตั้งองค์กรทางการเมือง การร่วมกิจกรรมทางการเมือง และการเลือกผู้แทนทางการเมือง เข้าไปสู่อำนาจทางการเมือง หรือ ใช้อำนาจทางการเมืองให้สนองประโยชน์แก่ตนเองของประชาชน เป็นต้น
2) พันธะในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากอำนาจ
เป็นการรับรองสิทธิ เสรีภาพในการผ่านลอดอำนาจของประชาชน ที่มุ่งผลต่อเป้าหมายผลประโยชน์ที่ต้องอาศัยอำนาจเป็นเครื่องมือในการจัดทำให้โดยทางอ้อม เช่น การผลักดันให้ผู้แทนออกกฎหมาย การเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดนโยบาย การเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐกระทำ หรือ งดเว้นการกระทำ เพื่อสนองประโยชน์ให้ในรูปแบบของบริการสาธารณะด้านต่างๆ เป็นต้น
3) พันธะในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งอิทธิพลเหนืออำนาจ
เป็นการรับรองสิทธิ เสรีภาพในการขี่คร่อมอำนาจของประชาชน ที่มุ่งผลต่อเป้าหมายในการโต้แย้งอำนาจลบล้าง และล้มล้างอำนาจ ทั้งในฝ่ายการเมือง และฝ่ายราชการประจำ เช่น การโต้แย้งการออกกฎหมาย และการใช้กฎหมายของรัฐ การถอดถอนผู้ปกครองให้พ้นจากอำนาจ ตลอดจนการฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อบังคับให้ทบทวนแก้ไขการใช้อำนาจ เพื่อทำประโยชน์ให้ประชาชนตามหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น เป็นต้น

12.1.2 การใช้ประโยชน์จากสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้แก่
1) การขอป้องกันสิทธิของประชาชน
การขอป้องกันสิทธิของประชาชน เป็นการใช้ประโยชน์จากสิทธิ เสรีภาพของประชาชนในเชิงรุก เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่จะมี หรือเกิดขึ้นแก่สิทธิประโยชน์ของตน เช่น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ การต่อต้าน โต้แย้ง และยับยั้งอำนาจรัฐที่ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
2) การขอรับความคุ้มครองสิทธิของประชาชน
เป็นการใช้ประโยชน์จากสิทธิ เสรีภาพของประชาชนทั้งในเชิงรุก และเชิงรับ เพื่อเรียกร้องหรือร้องขอให้รัฐ หรือหน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตอบสนองต่อสิทธิประโยชน์ของตนได้ตามความต้องการ
3) การขอรับการเยียวยาสิทธิของประชาชน
การขอรับการเยียวยาสิทธิของประชาชน เป็นการได้รับการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของประชาชนจากรัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับการชดเชยความเสียหาย จากการถูกกระทบสิทธินั้นให้กลับคืนมา ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากสิทธิเสรีภาพของประชาชนในเชิงรับ

12.2 หน้าที่ของประชาชนหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญต่างจากสิทธิ เสรีภาพ ซึ่งมีลักษณะเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการมีโอกาส และทางเลือกที่มีอิสระตามเจตจำนงที่ประชาชนเป็นฝ่ายกำหนดความต้องการได้เอง แต่หน้าที่ถือเป็นสิ่งที่ต้องทำ และต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ต้องทำตามหน้าที่นั้นโดยที่ประชาชนไม่สามารถเป็นฝ่ายกำหนดได้เองว่าจะทำ หรือไม่ทำตามหน้าที่นั้น
ดังนั้น หากรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้กำหนดหน้าที่ไว้ว่าประชาชนมีหน้าที่ต้องทำ หรือต้องไม่ทำสิ่งใด ประชาชนก็ต้องเคารพ และทำตามโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ส่วนที่จะทำให้เกิดผลดีมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกในความรับผิดชอบ และความสามารถของประชาชนร่วมกัน ซึ่งโดยหลักพื้นฐานของการปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชนนั้น สิ่งที่สำคัญที่ถือเป็นเงื่อนไขความสำเร็จของการปกครองประเทศในระบอบนี้ คือ สิ่งที่เรียกว่าการปกครองที่รัฐมีการปกครองน้อยที่สุด (The less government) เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงถือได้ว่าเป็นความจำเป็นที่ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม หรือมีบทบาทให้มากที่สุดด้วย
ฉะนั้นสิทธิ และหน้าที่ของประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมือง จึงต้องเป็นหน้าที่ที่ประชาชนจะละเลย เพิกเฉย หรือนิ่งดูดาย หรือคิดว่าไม่ใช่ธุระไม่ได้ ต้องมีสำนึกต่อภาระหน้าที่ของพลเมืองพร้อมกันไปด้วย จึงจะทำให้ภาระหน้าที่ของความเป็นพลเมืองสำเร็จลุล่วงได้ ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นการปกครองที่รัฐและผู้ปกครองต้องเป็นฝ่ายมีบทบาทนำเสมอไป การปกครองที่รัฐปกครอง น้อยที่สุดตามเป้าหมายของระบอบประชาธิปไตยก็เกิดขึ้นไม่ได้ ประชาชนในสังคมประชาธิปไตยจึงมีความแตกต่างจากประชาชนในสังคมเผด็จการ เพราะประชาชนในสังคมประชาธิปไตยต้องมีบทบาทนำในฐานะที่เป็นทั้งเจ้าของอำนาจ และเป็นพลเมือง ซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเป็นผู้กระทำทางการเมือง ไม่ใช่ผู้รับการกระทำทางการเมือง เหตุนี้ประชาชนในสังคมประชาธิปไตย จึงควรเป็นพลเมืองที่ต้องตื่นตัว และมีปฏิสัมพันธ์กับอำนาจและอิทธิพลทางการเมือง การปกครองอยู่เสมอ

ทั้งนี้ สามารถจำแนกหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 5 ด้าน คือ

1) หน้าที่ของพลเมืองดี ประชาชนมีหน้าที่รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีประมหากษัตริย์เป็นประมุข (มาตรา 66)
2) หน้าที่ต่อกฎหมาย ประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย (มาตรา 67)
3) หน้าที่ทางการเมือง ประชาชนมีหน้าที่ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง (มาตรา 68 )
4) หน้าที่ต่อประเทศ ประชาชนมีหน้าที่ป้องกันประเทศ โดยการรับราชการทหาร เสียภาษีอากรตาม(มาตรา 69)
5) หน้าที่ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ประชาชนมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการ พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ (มาตรา 46) และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีหน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา 70)

12.1 สิทธิ เสรีภาพ

สิทธิ
เป็นเสมือนทั้งเกราะในการคุ้มกันประชาชนให้พ้นจากภัยคุกคามของกำลังอิทธิพลและอำนาจที่ไม่ยุติธรรม และเป็นเสมือนกุญแจให้ประชาชนสามารถใช้ไขไปสู่ประโยชน์ด้านต่างๆ ได้ โดยในที่นี้จะเน้นเฉพาะสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติรับรองไว้ ซึ่งมีขอบเขตครอบคลุมถึงผลประโยชน์จากโอกาสและทางเลือกอันพึงมี พึงกระทำ และพึงได้ โดยที่สิ่งนั้นไม่ถูกโต้แย้งและขัดขวางโดยกฎหมาย องค์กรรัฐเจ้าหน้าที่รัฐ และคนอื่น ทั้งนี้โดยที่ประชาชนมีอิสระตามเสรีภาพในการใช้สิทธินั้นได้ตามเจตจำนงอิสระของตนเองหรือตามความสามารถในการตกลงใจของตนเองได้ด้วย ไม่อยู่ภายใต้การบังคับกะเกณฑ์โดยอิทธิพลอย่างอื่น
ทั้งนี้สามารถจำแนกสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชน ออกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้ คือ
สาระสำคัญของสิทธิ
1) สิทธิ เสรีภาพในความเป็นมนุษย์
2) สิทธิ เสรีภาพในความเป็นพลเมือง
3) สิทธิในความเสมอภาค

พันธะของรัฐที่มีต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และ
1) พันธะในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งอำนาจ
2) พันธะในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากอำนาจ
3) พันธะในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งอิทธิพลเหนืออำนาจ

การใช้ประโยชน์จากสิทธิเสรีภาพของประชาชนสาระสำคัญของสิทธิ ได้แก่
1) การขอป้องกันสิทธิของประชาชน
2) การขอรับความคุ้มครองสิทธิของประชาชน
3) การขอรับการเยียวยาสิทธิของประชาชน


1) สิทธิ เสรีภาพในความเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิ เสรีภาพ เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ความคิด จิตใจ และความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งถือเป็นสิทธิจะอยู่ จะเป็น หรือเป็นสิทธิที่ติดมากับตัวของประชาชนทั้งหลาย ตั้งแต่เกิดมาเป็นคน
โดยที่รัฐไม่อาจปฏิเสธความเป็นคน และศักดิ์ศรีความเป็นคนของประชาชนด้วยการกระทำที่เป็นการล่วงล้ำเกิน คุกคาม หรือละเมิดได้ เช่น การไม่ถูกลงโทษด้วยวิธีโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม การมีเสรีภาพในเคหสถานส่วนตัว เสรีภาพการเดินทาง การนับถือศาสนา การสื่อสาร คมนาคม การแสดงความคิดเห็น การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และการเลือกถิ่นที่อยู่ เป็นต้น (ตามมาตรา 4 มาตรา 26 และมาตรา 28) ที่กล่าวว่าเป็นสิทธิที่จะอยู่ จะเป็น หรือ เป็นสิทธิที่ติดมากับตัวประชาชน ก็เพราะเป็นสิทธิที่เป็นส่วนควบติดอยู่กับความเป็นคนตามธรรมชาติ โดยที่ทุกคนมีอยู่เหมือนกัน รัฐไม่อาจเข้าไปแทรกแซงให้เกิดความแตกต่าง หรือ สูญสิ้นสิทธิอันเป็นเสมือนองค์ประกอบของชีวิต จิตใจ และร่างกายนั้นได้ ดังนั้น สิทธิ เสรีภาพในความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิทธิของคนที่ห้ามไม่ให้รัฐกระทำซึ่งอาจเรียกสิทธิแบบนี้ได้ว่าเป็นสิทธิที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐ

2) สิทธิ เสรีภาพในความเป็นพลเมือง เป็นสิทธิ เสรีภาพเกี่ยวกับการที่สามารถเรียกร้องความต้องการขั้นพื้นฐานจากรัฐในฐานะที่เป็นราษฎรของรัฐได้ ซึ่งรัฐมีหน้าที่ให้การสนองตอบในรูปของบริการสาธารณะ ถือเป็นสิทธิที่จะเรียกขอได้ จะรับเอาได้ หรือเป็นสิทธิที่ตามมากับตัวโดยที่งอกขึ้นมาจากความเป็นพลเมืองหรือเป็นราษฎรของรัฐ โดยที่รัฐไม่อาจจะปฎิเสธความรับผิดชอบหรือความช่วยเหลือด้วยการเพิกเฉยไม่กระทำการตอบสนองตามความเรียกร้องต้องการของประชาชนซึ่งรัฐมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองได้ เช่น
- สิทธิในการรับการศึกษา (ตามมาตรา 43)
- สิทธิของผู้บริโภค
- เสรีภาพในการชุมนุม
- เสรีภาพในการรวมตัวเป็นหมู่คณะ
- สิทธิการรับข้อมูลข่าวสารจากรัฐ
- เสรีภาพการจัดตั้งพรรคการเมือง
- สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
- สิทธิการฟ้องหน่วยราชการ
- สิทธิมีส่วนร่วมกับรัฐ
- สิทธิคัดค้านการเลือกตั้ง
- สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและข้อบัญญัติท้องถิ่น
- สิทธิการเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
ทั้งนี้ ในการใช้สิทธิเสนอกฎหมายนั้นมีขอบเขตจำกัดเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพตามหมวด 3 และเกี่ยวกับนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามหมวด 5 เท่านั้น เป็นต้น
ที่กล่าวว่าเป็นสิทธิที่จะเรียกขอได้ หรือจะรับเอาได้ หรือเป็นสิทธิที่ตามมากับตัวโดยที่งอกขึ้นมาจากความเป็นพลเมืองของรัฐ เพราะเป็นสิทธิที่ขึ้นอยู่กับความเป็นพลเมืองของรัฐ โดยที่การได้รับความยุติธรรมจากการใช้สิทธิสำคัญกว่าการได้รับประโยชน์จากสิทธิที่เท่ากัน เช่น พลเมืองที่เด็กได้รับสิทธิการศึกษาภาคบังคับฟรี แต่พลเมืองที่เป็นผู้ใหญ่ได้รับสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง และสมัครรับเลือกตั้ง ขณะที่พลเมืองที่ด้อยโอกาสจะได้รับสิทธิการสงเคราะห์จากรัฐ ทั้งที่คนปกติทั่วไปไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว
ดังนั้นสิทธิเสรีภาพในความเป็นพลเมืองจึงเป็นสิทธิของพลเมืองที่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องได้รับประโยชน์เท่ากัน แต่หากเป็นสิทธิอะไรของใครก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องรับผิดชอบในการสนองตอบต่อการใช้สิทธินั้น กล่าวคือ พลเมืองที่เป็นเด็กย่อมสามารถเรียกร้องการศึกษาฟรีในภาคบังคับจากรัฐได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ก็ย่อมสามารถเรียกร้องการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ ดังนั้นสิทธิเสรีภาพของพลเมืองจึงเป็นสิทธิที่สงวนไว้ให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดหาให้ประชาชน หรือบังคับให้รัฐจะต้องกระทำซึ่งอาจเรียกสิทธิแบบนี้ได้ว่าเป็นสิทธิที่เป็นปฏิฐานกับรัฐ

3) สิทธิในความเสมอภาค เป็นสิทธิ เสรีภาพเกี่ยวกับการได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันจากรัฐ หรือการไม่เลือกปฏิบัติ เว้นแต่การเลือกปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือให้ผู้เสียเปรียบ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับสิทธิโอกาสเท่าเทียมกับคนอื่นได้ ซึ่งถือเป็นสิทธิที่จะมีจะเหมือนหรือเป็นสิทธิ เสรีภาพที่ดำรงอยู่นอกตัวของประชาชน (มาตรา 30) โดยที่รัฐไม่อาจปฏิเสธความเป็นกลาง หรือความเป็นธรรมด้วยการละเลยเพิกเฉยไม่ยื่นมือเข้าไปช่วย หรือ หยิบยื่นโอกาสอันพึงมีพึงได้ให้กับประชาชนได้รับอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยที่ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะความแตกต่างตามธรรมชาติ และเพราะการกระทำหรือละเว้นการกระทำของรัฐที่ไม่เท่าเทียมกัน เช่น
-การเสมอกันในกฎหมาย
- การไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน
- การได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ
- การได้รับความคุ้มครองโดยรัฐ และ
- สิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ เป็นต้น
ที่กล่าวว่าเป็นสิทธิที่จะมีจะเหมือนหรือเป็นสิทธิ เสรีภาพที่ดำรงอยู่นอกตัวของประชาชน ก็เพราะเป็นสิทธิที่ช่วยชดเชย ความแตกต่างตามธรรมชาติของคนให้ได้รับโอกาสและศักยภาพใหม่เพิ่มขึ้น โดยที่รัฐเป็นฝ่ายช่วยเสริมสร้างหรือเกื้อหนุนให้มีความเสมอเหมือนกัน โดยที่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องได้รับประโยชน์ที่เท่ากันจากการได้รับสิทธินั้น เช่น คนทั่วไปย่อมได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายเท่าเทียมกันในการขอแจ้งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพื่อประกอบธุรกิจ แต่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จหรือร่ำรวยได้เท่าเทียมกันจากการประกอบธุรกิจนั้น
ดังนั้นสิทธิในความเสมอภาคจึงเป็นสิทธิที่รัฐให้หลักประกันในการได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน แต่รัฐไม่ต้องผูกพันว่าทุกคนจะต้องเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการใช้สิทธินั้นให้ได้เท่ากันเสมอไป
ดังนั้นสิทธิในความเสมอภาคจึงเป็นสิทธิที่กำหนดให้รัฐดำรงฐานะของความเป็นคนกลางในการถือดุลย์ระหว่างความแตกต่างกันตามธรรมชาติของคนกับความเท่าเทียมกันตามกฎหมายและการปฏิบัติของรัฐเพื่ออุดช่องว่างไม่ให้ความแตกต่างนั้นเป็นเหตุให้เกิดเงื่อนไขของความไม่ยุติธรรมขึ้นในสังคม แต่ประโยชน์จากความยุติธรรมนั้นเป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องสร้างต่อขึ้นมาให้ตัวเองในภายหลังหรือไปหาเอาได้ข้างหน้า เมื่อรัฐได้ช่วยสร้างหลักประกันความยุติธรรมให้แล้ว ซึ่งอาจเรียกสิทธิแบบนี้ได้ว่าเป็นสิทธิที่เป็นพันธะของรัฐ

12.1.1 พันธะของรัฐที่มีต่อสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ได้แก่

1) พันธะในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งอำนาจ
เป็นการรับรองสิทธิ เสรีภาพในความเสมออำนาจของประชาชน ที่มุ่งผลต่อเป้าหมายอำนาจทางการเมืองการปกครองโดยตรง เช่น การจัดตั้งองค์กรทางการเมือง การร่วมกิจกรรมทางการเมือง และการเลือกผู้แทนทางการเมือง เข้าไปสู่อำนาจทางการเมือง หรือ ใช้อำนาจทางการเมืองให้สนองประโยชน์แก่ตนเองของประชาชน เป็นต้น
2) พันธะในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากอำนาจ
เป็นการรับรองสิทธิ เสรีภาพในการผ่านลอดอำนาจของประชาชน ที่มุ่งผลต่อเป้าหมายผลประโยชน์ที่ต้องอาศัยอำนาจเป็นเครื่องมือในการจัดทำให้โดยทางอ้อม เช่น การผลักดันให้ผู้แทนออกกฎหมาย การเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดนโยบาย การเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐกระทำ หรือ งดเว้นการกระทำ เพื่อสนองประโยชน์ให้ในรูปแบบของบริการสาธารณะด้านต่างๆ เป็นต้น
3) พันธะในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาให้ได้มาซึ่งอิทธิพลเหนืออำนาจ
เป็นการรับรองสิทธิ เสรีภาพในการขี่คร่อมอำนาจของประชาชน ที่มุ่งผลต่อเป้าหมายในการโต้แย้งอำนาจลบล้าง และล้มล้างอำนาจ ทั้งในฝ่ายการเมือง และฝ่ายราชการประจำ เช่น การโต้แย้งการออกกฎหมาย และการใช้กฎหมายของรัฐ การถอดถอนผู้ปกครองให้พ้นจากอำนาจ ตลอดจนการฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อบังคับให้ทบทวนแก้ไขการใช้อำนาจ เพื่อทำประโยชน์ให้ประชาชนตามหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น เป็นต้น

12.1.2 การใช้ประโยชน์จากสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้แก่
1) การขอป้องกันสิทธิของประชาชน
การขอป้องกันสิทธิของประชาชน เป็นการใช้ประโยชน์จากสิทธิ เสรีภาพของประชาชนในเชิงรุก เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่จะมี หรือเกิดขึ้นแก่สิทธิประโยชน์ของตน เช่น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ การต่อต้าน โต้แย้ง และยับยั้งอำนาจรัฐที่ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
2) การขอรับความคุ้มครองสิทธิของประชาชน
เป็นการใช้ประโยชน์จากสิทธิ เสรีภาพของประชาชนทั้งในเชิงรุก และเชิงรับ เพื่อเรียกร้องหรือร้องขอให้รัฐ หรือหน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตอบสนองต่อสิทธิประโยชน์ของตนได้ตามความต้องการ
3) การขอรับการเยียวยาสิทธิของประชาชน
การขอรับการเยียวยาสิทธิของประชาชน เป็นการได้รับการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของประชาชนจากรัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับการชดเชยความเสียหาย จากการถูกกระทบสิทธินั้นให้กลับคืนมา ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากสิทธิเสรีภาพของประชาชนในเชิงรับ

12.2 หน้าที่ของประชาชนหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญต่างจากสิทธิ เสรีภาพ ซึ่งมีลักษณะเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการมีโอกาส และทางเลือกที่มีอิสระตามเจตจำนงที่ประชาชนเป็นฝ่ายกำหนดความต้องการได้เอง แต่หน้าที่ถือเป็นสิ่งที่ต้องทำ และต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ต้องทำตามหน้าที่นั้นโดยที่ประชาชนไม่สามารถเป็นฝ่ายกำหนดได้เองว่าจะทำ หรือไม่ทำตามหน้าที่นั้น
ดังนั้น หากรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้กำหนดหน้าที่ไว้ว่าประชาชนมีหน้าที่ต้องทำ หรือต้องไม่ทำสิ่งใด ประชาชนก็ต้องเคารพ และทำตามโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ส่วนที่จะทำให้เกิดผลดีมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกในความรับผิดชอบ และความสามารถของประชาชนร่วมกัน ซึ่งโดยหลักพื้นฐานของการปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชนนั้น สิ่งที่สำคัญที่ถือเป็นเงื่อนไขความสำเร็จของการปกครองประเทศในระบอบนี้ คือ สิ่งที่เรียกว่าการปกครองที่รัฐมีการปกครองน้อยที่สุด (The less government) เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงถือได้ว่าเป็นความจำเป็นที่ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม หรือมีบทบาทให้มากที่สุดด้วย
ฉะนั้นสิทธิ และหน้าที่ของประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมือง จึงต้องเป็นหน้าที่ที่ประชาชนจะละเลย เพิกเฉย หรือนิ่งดูดาย หรือคิดว่าไม่ใช่ธุระไม่ได้ ต้องมีสำนึกต่อภาระหน้าที่ของพลเมืองพร้อมกันไปด้วย จึงจะทำให้ภาระหน้าที่ของความเป็นพลเมืองสำเร็จลุล่วงได้ ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นการปกครองที่รัฐและผู้ปกครองต้องเป็นฝ่ายมีบทบาทนำเสมอไป การปกครองที่รัฐปกครอง น้อยที่สุดตามเป้าหมายของระบอบประชาธิปไตยก็เกิดขึ้นไม่ได้ ประชาชนในสังคมประชาธิปไตยจึงมีความแตกต่างจากประชาชนในสังคมเผด็จการ เพราะประชาชนในสังคมประชาธิปไตยต้องมีบทบาทนำในฐานะที่เป็นทั้งเจ้าของอำนาจ และเป็นพลเมือง ซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเป็นผู้กระทำทางการเมือง ไม่ใช่ผู้รับการกระทำทางการเมือง เหตุนี้ประชาชนในสังคมประชาธิปไตย จึงควรเป็นพลเมืองที่ต้องตื่นตัว และมีปฏิสัมพันธ์กับอำนาจและอิทธิพลทางการเมือง การปกครองอยู่เสมอ

ทั้งนี้ สามารถจำแนกหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 5 ด้าน คือ

1) หน้าที่ของพลเมืองดี ประชาชนมีหน้าที่รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีประมหากษัตริย์เป็นประมุข (มาตรา 66)
2) หน้าที่ต่อกฎหมาย ประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย (มาตรา 67)
3) หน้าที่ทางการเมือง ประชาชนมีหน้าที่ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง (มาตรา 68 )
4) หน้าที่ต่อประเทศ ประชาชนมีหน้าที่ป้องกันประเทศ โดยการรับราชการทหาร เสียภาษีอากรตาม(มาตรา 69)
5) หน้าที่ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ประชาชนมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการ พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ (มาตรา 46) และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีหน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา 70)

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ