MPE THAMMASAT UNIVERSITY-PATTAYA CENTER
สมาชิกล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบก่อนนะคะ

Join the forum, it's quick and easy

MPE THAMMASAT UNIVERSITY-PATTAYA CENTER
สมาชิกล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบก่อนนะคะ
MPE THAMMASAT UNIVERSITY-PATTAYA CENTER
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
MPE THAMMASAT UNIVERSITY-PATTAYA CENTER

สำนักไหนหมายชูประเทศชาติ สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง

Sawasdee & Welcome Everyone to MPE Website ka.
ค้นหา
 
 

Display results as :
 


Rechercher Advanced Search

October 2024
MonTueWedThuFriSatSun
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031   

Calendar Calendar

เข้าสู่ระบบ(Log in)

ลืม(forget) password




You are not connected. Please login or register

วิชาเศรษฐกิจการเมืองโลก ศต.21

3 posters

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

attakorn

attakorn
รมช.
รมช.

สังคมโลกยุคโลกาภิวัฒน์

ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และ รุนแรงในทุกมิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ เทคโนโลยี อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองโลก มีผลทำให้ประเทศต่างๆ ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และ กัน และ มีความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับเล็กลงดินแดนแต่ละประเทศที่อยู่ห่างไกลกันสามารถติดต่อกันได้ภายในเวลาเพียงเสี้ยววินาทีประดุจเป็นหมู่บ้าน ( Global Village ) ภูเขาและทะเลซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติที่เคยเป็นอุปสรรคในการติดต่อไปมาหาสู่ดูเสมือนเลือนหายไปจนกลายเป็นโลกไร้พรมแดน นับจากนี้ต่อไปโลกกำลังก้าวเข้าสู่ระยะแห่งการเปลี่ยนยุคเปลี่ยนสมัย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนผ่านที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์โลกในยุคโลกาภิวัตน์

:&)$%#$: :&)$%#$: :&)$%#$:

Intro ครับพี่น้อง วิชาเศรษฐกิจการเมืองโลก ศต.21 781194 วิชาเศรษฐกิจการเมืองโลก ศต.21 781194

วิชานี้ผมว่าน่าสนใจมากเลยนะ
เพราะ ศตวรรตนี้เพิ่งผ่านมาไม่นาน แค่ 10 ปีเอง
:_$$$(: :_$$$(:

เหตุการณ์สำคัญของโลกหลายเรื่องกระทบกับมนุษยชาติอย่างมาก และ เร็ว
จนตั้งตัวกันไม่ทัน วิชานี้เรามาตั้งตัวกันเหอะ
วิชาเศรษฐกิจการเมืองโลก ศต.21 96227 วิชาเศรษฐกิจการเมืองโลก ศต.21 96227 วิชาเศรษฐกิจการเมืองโลก ศต.21 96227

attakorn

attakorn
รมช.
รมช.

ผมว่าอันนี้เจ๋งมาก...เนื้อหาใกล้เคียงกับที่อาจารย์สอนเลยครับ
......................................................

การวิเคราะห์กระแสโลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อสังคมไทย


ความหมาย นัยสำคัญและผลกระทบโลกาภิวัตน์


คลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก


· ยุคเกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นสังคมแบบดั้งเดิม การผลิตด้าน การเกษตร เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พึ่งพาธรรมชาติ สังคมเรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นยุคอดีตจนก่อนการ ปฎิวัติอุตสาหกรรม


· ยุคอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนาไปสุ่เครื่องจักรกล มาใช้ เป็นพลังการผลิตแทนแรงงานคน และสัตว์ ก่อให้พลังการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่ การตลาดและการบริโภคนิยม ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย สภาพสังคมซับซ้อน หลากกหลายมากขึ้น เป็นยุคสามทศวรรษก่อนปัจจุบัน มีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนาไปสุ่เครื่องจักรกล มาใช้ เป็นพลังการผลิตแทนแรงงานคน และสัตว์ ก่อให้พลังการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่ การตลาดและการบริโภคนิยม ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย สภาพสังคมซับซ้อน หลากกหลายมากขึ้น เป็นยุคสามทศวรรษก่อนปัจจุบัน


· ยุคเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์ โทรสารติดต่อทั่วโลก เป็นยุคโลกไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารรวดเร็วเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจนคนในสังคมปรับตัวไม่ทันกกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก (Future Shock) เป็นยุคศตวรรษที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์ โทรสารติดต่อทั่วโลก เป็นยุคโลกไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารรวดเร็วเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจนคนในสังคมปรับตัวไม่ทันกกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก (Future Shock) เป็นยุคศตวรรษที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน


· ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)


โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก


โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น"


โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก


โลกาภิวัตน์เกิดจากสี่รูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนย้ายทุนในเศรษฐกิจโลก โดยสี่การเคลื่อนย้ายของทุนที่สำคัญคือ:


· ทุนมนุษย์ (เช่น การอพยพเข้าเมือง การย้ายถิ่น การอพยพจากถิ่นฐาน การเนรเทศ ฯลฯ)


· ทุนการเงิน (เช่น เงินช่วยเหลือ หุ้น หนี้ สินเชื่อและการกู้ยืม ฯลฯ)


· ทุนทรัพยากร (เช่น พลังงาน โลหะ สินแร่ ไม้ ฯลฯ)


· ทุนอำนาจ (เช่น กองกำลังความมั่นคง พันธมิตร กองกำลังติดอาวุธ ฯลฯ)


โลกาภิวัฒน์ (Globalization) ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศหรือเป็นการค้าภายในประเทศ ทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การครอบงำของ Globalization จึงต้องทำความเข้าใจว่าโลกาภิวัฒน์คืออะไร และบทบาทตัวตนที่แท้จริง ซึ่งฝังอยู่ภายในนั้น จะเป็นอย่างไร ซึ่งจะมีรายละเอียดแบบย่อๆ ดังนี้


Globalization จะเกี่ยวข้องกับ


ทุน Capital เศรษฐกิจโลกจะต้องเป็นไปตามลัทธิทุนนิยม (Capitalism) ภายใต้การแข่งขันในลักษณะเสรีนิยม (Liberalism) ซึ่งเป็นลักษณะเศรษฐกิจของโลกตะวันตกที่มีเนื้อหาเน้นการสะสมทุนและการค้าเสรี โดยต่างก็จะให้มีการเปิดการค้าระหว่างประเทศให้เป็นการค้าที่ไร้พรมแดนแต่ภายใต้การค้าเสรีนี้ ความได้เปรียบของบริษัทข้ามชาติ ก็จะมีมากกว่าจึงเป็นความเสรีที่ไม่เท่าเทียมกัน ทุนจะมีการเคลื่อนย้ายไปยังประเทศต่างๆของโลกที่ให้เงื่อนไขและผลประโยชน์ที่ได้กำไรสูงสุด

การครอบงำผ่านทางข้อมูล-ข่าวสาร (Dominant) การปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการเชื่อมโยงสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว โลกถูกเชื่อมด้วยข้อมูลข่าวสารและมักเป็นข้อมูลข่าวสารฝ่ายเดียวจากโลกตะวันตก หรือจากประเทศซึ่งมีอำนาจเศรษฐกิจและการทหารที่เหนือกว่า โดยการครอบงำและสร้างกระแสข่าวตามที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเมืองและเศรษฐกิจของตะวันตก เป็นการครอบงำทางข่าวสาร และวัฒนธรรมซึ่งมีผลต่อความเชื่อของมนุษยชาติในการที่จะต้องบริโภคข่าวสาร , การบริโภคสินค้า ,บริการ และวัฒนธรรมของตะวันตกนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

ค่านิยม (Value) โลกาภิวัฒน์ ได้สร้างค่านิยมผ่านทางข้อมูลข่าวสาร โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ

ค่านิยมทางการเมือง ทุกประเทศในโลกต้องเป็นแนวประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งประเทศต่างๆ หากจะต้องมีรูปแบบการเมืองการปกครองในแบบเดียวกัน มิฉะนั้นก็จะถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ หรือใช้กำลังทหารเข้าไปปลดปล่อยให้เป็นประชาธิปไตย โดยไม่สนใจต่อความพร้อมหรือวิถีชีวิตของคนในประเทศเหล่านั้น ซึ่งการเมืองในระบบประชาธิปไตย เมื่อถูกผ่านการครอบงำผ่านทางข้อมูลข่าวสารจากโลกตะวันตก ก็จะทำให้ประชาชนมีค่านิยมที่จะเลือกผู้นำที่มีแนวความคิดแบบการค้าเสรีหรือเป็นนายทุนเศรษฐกิจแบบตะวันตกไปเป็นรัฐบาล ซึ่งก็จะมีการแก้ไขกฎเกณฑ์ กฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทข้ามชาติสามารถเข้าไปแข่งขันกับธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งมีความอ่อนแอกว่า ซึ่งจะมีผลต่อจะต้องมีการพึ่งพาโลกตะวันตก

ค่านิยมทางเศรษฐกิจ โลกจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Labour) โดยถือหลักการว่าที่ไหนถูกก็ผลิตหรือซื้อที่นั่น โดยต่างฝ่ายจะใช้มาตรการทางภาษีให้มีน้อยที่สุด โดยโลกตะวันตกก็จะมีการปกป้องธุรกิจที่ไม่สามารถแข่งขันกันได้ในรูปแบบของการกีดกันทางการค้า ในแบบที่เรียกว่า NTB (Non Tariff Barrier) การค้าของโลกจะตกอยู่ภายใต้กติกา WTO (World Trade Organization) ที่โลกตะวันตกไม่กี่ประเทศเป็นผู้บงการ และข้อตกลงในลักษณะที่เป็นทวิภาคี ได้แก่ ที่มาในรูปแบบของ FTA ซึ่งหาก WTO ไม่สามารถเอื้อประโยชน์ก็จะมีการทำข้อตกลงความร่วมมือในระดับภูมิภาค เช่น ASEAN , NAFTA , APEC เป็นต้น ต้องเข้าใจว่าการค้าเสรีของ Globalization นั้นเป็นความเสรีบนความไม่เท่าเทียมกัน จึงไม่ใช่ความยุติธรรมทางการค้า

ค่านิยมทางสังคม โดยการครอบงำทางสังคมวัฒนธรรม โดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร ทำให้การค้าของโลกจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน (Human Right) การบริโภคนิยม (Consumerism) การนิยมวัตถุ (Materialism) รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งจะอนุรักษ์เฉพาะในสิ่งที่ประเทศด้อยพัฒนาไม่พร้อม แต่โลกตะวันตกพร้อม

ค่านิยมการปกป้องทางการค้า (Protectinism) การค้าโลกาภิวัฒน์ จะทำมาพร้อมกับการปกป้องทางการค้าในรูปแบบของลิขสิทธิ์ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของลิขสิทธิ์ก็จะมาจากโลกตะวันตก ซึ่งจะใช้ลิขสิทธิเป็นเครื่องมือในการปกป้องสินค้าและบริการ นอกเหนือจากนี้การใช้มาตรการทางด้านการเงิน ผ่านกองทุนต่างๆ เช่น IMF , ADB Bank ซึ่งมักจะมีเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจข้ามชาติ ก็จัดเป็นส่วนหนึ่งของการปกป้อง รวมทั้งการใช้มาตรการที่ป้องกันผู้ก่อการร้ายของ Terrorism ก็อยู่ในกระแสของโลกาภิวัฒน์เช่นกัน





กระแสโลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อประเทศไทย (Global Trends and Implications to Thailand)


กระแสโลกาภิวัตน์นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านต่างยอมรับกันว่า กระแสโลกาภิวัฒน์มีอิทธิพลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ ในโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เชื่อมโยงและพึ่งพิงกับต่างประเทศสูง ดังเช่น ประเทศไทย จากการประมวลผลการศึกษาและคาดการณ์ของนักวิชาการหลายท่านได้ข้อสรุปถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่เป็นประเด็นสำคัญ


และเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดังนี้


1. การเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากร (The New Demographics) ประชากรของโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 6.1 พันล้าน ในกลางปี 2001 เป็น 7.8 พันล้านในปี 2025 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 หรือร้อยละ 1.2ต่อปี) ทั้งนี้ ร้อยละ 95 ของประชากรที่เพิ่มขึ้นจะอยู่ในประเทศกำ ลังพัฒนา โดยเฉพาะในเขตเมือง แนวโน้มประชากรโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้างและพฤติกรรม โดยประชากรสูงอายุ (มากกว่า 50 ปีขึ้นไป) จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประชากรวัยหนุ่มสาว (Young Generation) จะมีสัดส่วนลดลง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราการเกิดของประเทศพัฒนาแล้วตํ่าลง ประกอบกับคนจะมีสุขภาพดีและอายุยืนมากขึ้น (ตารางที่ 3) นอกจากนั้น ค่านิยม และพฤติกรรมของประชากรจะเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากจนยากที่จะคาดเดา การเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากรทั้งหมดดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ คือ


1.1 การสิ้นสุดของตลาดเดียว (The End of Single Market) เดิมตลาดของประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีลักษณะ Homogeneous โดยมีกลุ่มวัยรุ่นเป็นผู้ครอบครองตลาดส่วนใหญ่ แต่ต่อไปในอนาคต ตลาดจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน คือ


(1) ตลาดของผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเพื่ออำ นวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำ วันทดแทนความเสื่อมประสิทธิภาพของร่างกาย การให้บริการเพื่อความบันเทิง เช่น การท่องเที่ยว เป็นต้น


(2) ตลาดของกลุ่มวัยรุ่น ผลิตภัณฑ์และบริการส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อความสะดวกและรวดเร็วในการใช้ชีวิตประจำ วัน ความฟุ่มเฟือยในรูปแบบต่างๆ แม้กระทั่งการศึกษาซึ่งจะมีรูปแบบที่เป็น New Luxury Youth Market โดยเฉพาะในตลาดศึกษาต่อเนื่องของผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษาดีอยู่แล้ว ขณะนี้กำ ลังเป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด เนื่องจาก ครอบครัวที่มีลูกคนเดียวมักจะลงทุนค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูกสูงมาก ทำ ให้ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาต่อหัวเท่ากับค่าใช้จ่ายการศึกษาในอดีตของเด็ก 4-5 คนรวมกัน ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น Nanotechnology และ Material Technology เป็นต้น รวมทั้ง ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า “Culture Product” ที่มีความเหมือนกันในวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ การบริโภค และผลิตภัณฑ์ เช่น สินค้าจำ พวก Franchise ต่างๆสัญญาณของปรากฎการณ์ดังกล่าวปรากฎให้เห็นแล้วในธุรกิจบริการด้านการเงิน


(Financial Services) ที่ขณะนี้การค้าหุ้นในตลาดสินค้าประเภท High Technology ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นของคนอายุน้อยกว่า 45 ปี ส่วนการลงทุนในตลาดกองทุนอื่น (Mutual Fund) ที่เน้นในเรื่องของการลงทุนเพื่อการออม ลูกค้าจะเป็นผู้สูงอายุ


1.2 ภาระงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกับประเทศกำ ลังพัฒนาซึ่งโครงสร้างของประชากรวัยสูงอายุที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาก จะมีผลต่อค่าใช้จ่ายของรัฐบาลที่จะเพิ่มขึ้นจากเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ เบึ้ยบำ นาญ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาที่แนวโน้มดังกล่าวก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกันแต่ในอัตราที่ตํ่ากว่า


1.3 การเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศกำ ลังพัฒนาไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว(Mobility of Labour) โดยเฉพาะแรงงานฝีมือหรือแรงงานที่มีความรู้ (Skilled Labor/Knowledge Labor)ซึ่งเป็นที่ต้องการและมีบทบาทมากในระบบเศรษฐกิจ ในทางตรงกันข้าม จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะตํ่าไปยังประเทศกำ ลังพัฒนาเพื่อลดจำ นวนแรงงานในประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจโลกจะเป็นตัวซํ้าเติมให้เกิดความยุ่งเหยิงของโครงสร้างการทำ งานในสังคมที่กำ ลังพัฒนา โดยการสร้างให้เกิดการจ้างงานที่ขาดเสถียรภาพ งานที่ต้องการความชำ นาญหลายอย่างอาจถูกลดระดับลง หรือถูกทดแทนด้วยแรงงานที่ตํ่ากว่าระดับจริง นอกจากนั้น จะก่อให้เกิดปัญหาเมืองใหญ่ (Mega City) ที่ต้องมีการวางแผนการพัฒนาเมืองที่ป้องกันและจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางโครงสร้างพื้นฐาน และทางด้านสิ่งแวดล้อม


1.4 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงในค่านิยม และพฤติกรรมของประชากรทำ ให้ตลาดเปลี่ยนแปลงเร็ว จำ เป็นที่ผู้ผลิตจะต้องมีความพร้อมรับกับการปรับเปลี่ยนโดยต้องพร้อมในการที่จะคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ (Innovation) และใช้ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมของประสบการณ์และภูมิปัญญา มารองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว


2. ความเหลื่อมลํ้าของความรู้ (Knowledge Divide) จะเกิดทั้งในระดับระหว่างประเทศและในระดับประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นจากความไม่เท่าเทียมกันของความสามารถและความจริงจังในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา (Education) ข้อมูลข่าวสาร (Information) และการวิจัย (Research) ของประเทศหนึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ และการพัฒนาองค์ความรู้ของคนในประเทศที่มีความแตกต่างกัน ทำ ให้ประเทศที่มีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องจะเกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในสังคมเศรษฐกิจการเมืองโลกที่อาศัยองค์ความรู้ในการพัฒนามากกว่าปัจจัยทางทรัพยากร (Comparative Advantage) ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในลักษณะคือ


2.1 การศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในระบบและนอกระบบขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) ซึ่งความรู้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกส่วนของภาคการผลิต เพื่อลดต้นทุน เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และเพื่อลดการพึ่งพิงแรงงานที่ขาดแคลน จำ เป็นที่ประชากรในทุกเพศ ทุกวัย ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดังกล่าวโดยเฉพาะประชากรในวัยทำ งานที่ต้องมีความพร้อมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานที่มีความต้องการทักษะและฝีมือ


2.2 การวิจัยและพัฒนาจะมีความสำ คัญมากขึ้น ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพที่จะต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ ทันสมัยและกระจายอย่างทั่วถึง


3. ภาวะกำลังการผลิตส่วนเกิน (Overcapacity) ในสินค้าและบริการ ซึ่งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ การเข้ามาใหม่ของประเทศกำ ลังพัฒนา เช่น จีน และเม็กซิโก เป็นต้น การหดตัวของความต้องการ (Demand Contract) การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งการเพิ่มขึ้นในความรู้ ความสามารถและทักษะฝีมือแรงงาน ก่อให้เกิดผลกระทบสำ คัญ 2 ประการคือ


3.1 ภาวะ “Global Deflation” ราคาสินค้าส่วนใหญ่ทั่วโลกมีราคาถูกลง โดยเฉพาะสินค้าที่สามารถผลิตได้ในประเทศกำ ลังพัฒนาที่มีค่าแรงงานถูก เช่น ประเทศจีน เป็นต้น การแข่งขันจึงอยู่ในลักษณะของการลดต้นทุนการผลิต โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือการเป็นผู้นำ ในการคิดค้นประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง


3.2 ภาวะ “Growth with Unemployment” อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกจะสูงขึ้น เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1960 และ 1970 อันเนื่องจากแรงกดดันทางการเมือง เพื่อให้มีมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น การมีนโยบายเศรษฐกิจที่ดีขึ้น การเพิ่มขึ้นในการค้าและการลงทุนกับต่างประเทศ การกระจายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) และภาคเอกชนมีพลวัตร(Dynamic) มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวกลับก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งใน 20 ปีข้างหน้า มีการคาดการณ์ไว้ว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า ในขณะที่การจ้างงานในอุตสาหกรรมจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10-20 ของกำ ลังแรงงานรวม ทั้งนี้ เป็นผลจากการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งการลดบทบาทของภาคอุตสาหกรรมในฐานะผู้สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศจะนำ ไปสู่การรวมพลังของกลุ่มคนมากขึ้น เพื่อให้รัฐเข้ามาปกป้องทางการค้าในรูปแบบใหม่ (The New Protectionism) เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับสินค้าเกษตร แต่ภาวะการว่างงานดังกล่าวจะบรรเทาได้ในระดับหนึ่งจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและอาชีพทางด้านบริการที่มีแนวโน้มเพิ่มความสำ คัญขึ้นมากในอนาคต


4. การพึ่งพิงและร่วมมือระหว่างกันมีมากขึ้น (More Interdependent) ในทุกระดับ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ได้แก่ การขยายตัวขององค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองระดับโลกขนาดใหญ่ เช่น WTO และ IMF เป็นต้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบของขั้วอำนาจจาก Bipolar มาเป็น Multipolar ปัญหาผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ (Terrorism) ซึ่งทำ ให้ประเทศต่างๆ ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดมากขึ้น อันนำ ไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการเจรจาต่อรองและการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในระดับทวิภาคี (Bi-lateral) ในระดับภูมิภาค (Regional) และระดับโลกเพื่อสร้างความสมดุลย์ของอำ นาจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและภูมิภาคทั้งที่มีอยู่เดิมและที่เกิดขึ้นใหม่ในระดับประเทศ ถึงแม้รัฐจะเข้าไปมีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น แต่ภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำ ไรจะมีบทบาทมากขึ้นทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน จึงต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยแนวโน้มในอนาคตพลเมืองจะยังคงใช้การเมืองนำการดำเนินธุรกิจเนื่องจากการเมืองจะมีการปรับตัวเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการปรับโครงสร้างของรัฐบาลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้มีความสามารถในการสร้างความร่วมมือ เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นในการเคลื่อนไหวของข้อมูล เทคโนโลยีสมัยใหม่ การอพยพ และอิทธิพลของภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำ ไร


สำหรับในระดับธุรกิจ เนื่องจากข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งสำ คัญต่อการตัดสินใจของภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก องค์กรทางด้านข้อมูลข่าวสารหรือองค์กรที่มีข้อมูลข่าวสารมากจะมีอำนาจมากขึ้น ทำให้เกิดการผลักดันที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจ โดยอาศัยการสร้างความร่วมมือกันระหว่างภาคธุรกิจมากกว่าการมุ่งที่จะแข่งขันกัน อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือจะสำ เร็จได้จำ เป็นต้องอาศัยความโปร่งใสและเปิดเผย ทั้งของภาครัฐและภาคธุรกิจที่จะมีให้กัน (Good Governance and Corporate Governance)ผลกระทบต่อประเทศไทย


แนวโน้มสถานการณ์โลกในอนาคตที่คาดการณ์ไว้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งในเชิงบวก ซึ่งถือเป็นโอกาสของประเทศในการที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเชิงลบซึ่งถือเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่จะต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนาเพื่อปรับข้อจำ กัดเหล่านั้นให้เป็นโอกาสของประเทศ เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มดังกล่าว ผลกระทบที่จะมีต่อประเทศไทยสรุปได้ดังนี้


1. โอกาส จากโครงสร้างประชากรที่จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว จะสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายตลาดทางด้านสินค้าและบริการที่มีศักยภาพและข้อได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงาน รวมทั้งความรู้ความชำ นาญที่มีอยู่เดิม (ทางวัฒนธรรม) เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานและฝีมือเฉพาะด้านสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพ (นวดแผนโบราณ / สมุนไพร) และบริการทางด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าและบริการที่สามารถเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระดับรากหญ้าซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้เป็นอย่างดี


2. ข้อจำกัดประกอบด้วย


2.1 นโยบายการเงินการคลังมีประสิทธิภาพน้อยลง สาเหตุจากภาระงบประมาณรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างประชากร กระทบต่องบประมาณด้านการรักษาพยาบาลเบี้ยบำนาญและเงินสวัสดิการผู้สูงอายุต่างๆ รวมทั้ง กระแสการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ และบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้งบประมาณทางด้านการศึกษาของภาครัฐเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของประชากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นอกจากนี้ ปัญหาหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของประเทศต่างๆ ในโลก การขาดความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของการดำ เนินนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายเสรีทางการเงินที่จะเพิ่มความเสี่ยงของราคาทรัพย์สินและก่อให้เกิดปัญหา Credit Bubble ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น


จากการศึกษาของสำ นักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่สอดรับกับผลการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2545-2549) รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการดำ เนินนโยบายของรัฐบาลในด้านการศึกษาและสาธารณสุข รวมทั้งรายจ่ายอื่นๆ ทำ ให้ฐานะทางการคลังของไทยประสบปัญหาการขาดดุลงบประมาณในระดับสูง ทำ ให้ยอดหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น อันจะนำ ไปสู่ความไม่มั่นใจในเสถียรภาพด้านการคลังของประเทศ และยากที่จะจัดทำ งบประมาณให้เข้าสู่สมดุล


2.2 การขยายตัวของกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล แม้ดัชนีความเป็นเมืองของประเทศไทยจะยังอยู่ในระดับตํ่ากว่าประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และอินโดนีเซีย เป็นต้นแต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังกระจุดอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลจะส่งผลให้การอพยพเข้ามาของแรงงานเพื่อการมีงานทำ จะมีมากขึ้นเช่นเดียวกับในเมืองหลวงขนาดใหญ่ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะต้องได้รับการปรับปรุงและแก้ไขให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว


2.3 ปัญหาด้านแรงงาน


(1) ขาดแรงงานที่มีความรู้และทักษะ เนื่องจากการอพยพไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วเพื่อค่าตอบแทนที่สูงกว่า ในขณะที่แรงงานส่วนใหญ่ในประเทศจะเป็นแรงงานขาดความรู้และทักษะ ที่ส่วนหนึ่งอพยพมาจากต่างประเทศ


(2) ภาวะการว่างงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ในโลก อันเนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบกับความรู้ ความสามารถของแรงงานที่ทำ ให้ผลิตภาพสูงขึ้น


2.4 ภาวะการแข่งขันสูงขึ้นและราคาสินค้าตํ่าลง โดยเฉพาะสินค้าที่มีความต้องการในตลาดโลกสูง และสินค้าที่ประเทศใหม่ เช่น จีน และเม็กซิโก เป็นต้น สามารถผลิตได้ อันเนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านแรงงานราคาถูก ความรู้ ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนวัตกรรม และผลิตภาพที่สูง (High Productivity) ของประเทศเหล่านั้น


2.5 เผชิญกับข้อกีดกันทางการค้าทั้งที่อยู่ในรูปของภาษีและที่มิใช่ภาษี (Nontariff Barriers : NTB) มากขึ้น เนื่องจาก การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นไปอย่างช้า ในขณะที่ การเพิ่มขึ้นของการรวมขั้วอำ นาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในระดับต่างๆ รวมทั้ง ปัญหาการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมที่ทำ ให้ประเทศส่วนใหญ่ต้องปกป้องประชากรและอุตสาหกรรมในประเทศเพิ่มขึ้น

ammy

ammy
รมต.
รมต.

พี่อรรถ เปลี่ยนฝ่ายกะพี่เหมี่ยวดีกว่า 555 พาดพิงซะหน่อย เราอยู่ตรงไหนก้อช่วยกันอยู่แล้ว MPE1 เข้มแข็ง จริงมั๊ยคร๊าบพี่น้อง
:_%(^)%(: วิชาเศรษฐกิจการเมืองโลก ศต.21 718456 วิชาเศรษฐกิจการเมืองโลก ศต.21 96227 Smile@#$$(%):

chelsea

chelsea
รมต.
รมต.

ทุกคนทำได้ดีน่านับถือครับ
วิชาเศรษฐกิจการเมืองโลก ศต.21 210833 วิชาเศรษฐกิจการเมืองโลก ศต.21 210833 วิชาเศรษฐกิจการเมืองโลก ศต.21 210833

attakorn

attakorn
รมช.
รมช.

อาจารย์ไชยันต์ สอนอะไรบ้างอ่ะครับ :&)$%#$:
สนุกป่าว?
มีใครถามเรื่องอารยะขัดขืนมั๊ย?

...........................
ผมไม่ได้ฟังอาจารย์เลยครับ...เสียดาย
เพราะ
วันแรก(เสาร์)ผมไปท่าพระจันทร์
วันที่สอง(อาทิตย์)ไปที่ศูนย์พัทยา ได้สวัสดีไป 1 ที...แล้วอาจารย์ก็กลับ :W^(#^@#@_@!+:
ตอนบ่ายสอบ :&)$%#$:

ขอบคุณน้องอิ๊ด...ที่ก๊อปเลคเชอร์มาให้นะครับ

วันเสาร์เจอกันครับ

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ